ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา เดื่อหว้า, มะเดื่อหลวง
เดื่อหว้า, มะเดื่อหลวง
Ficus auriculata Lour. (Syn. Ficus oligodon Miq.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Moraceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus auriculata Lour. (Syn. Ficus oligodon Miq.)
 
  ชื่อไทย เดื่อหว้า, มะเดื่อหลวง
 
  ชื่อท้องถิ่น เตอะกือโพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ด่อกะโต้ว(บ)(ปะหล่อง), บะครูน(ลั้วะ), ตรู้ล(ขมุ), งงหยอ(เมี่ยน), เดื่อหว้า(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ มะเดื่อหว้าเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขามาก
 
  ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เป็นกระจุกปลายยอด รูปไข่กว้างหรือหัวใจ กว้าง 14-15 ซม. ยาว 18-23 ซม. ขอบใบเรียบ ปลายและโคนมน เส้นใบชัด ผิวใบสากเล็กน้อย หลังใบสีอ่อนกว่าท้องใบ มีขนนุ่มปกคลุม ก้านใบยาว 13-15 ซม. ยอดและก้านใบมีขนนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน
 
  ดอก ดอกเป็นช่อยาว ออกตามลำต้นและกิ่ง
 
  ผล ผลขนาดใหญ่ รูปกลมแบน สีเขียว มีกลีบเลี้ยงสีน้ำตาลติดอยู่ ที่ผิวมีจุดสีเขียวอ่อนกระจายทั่วทั้งผล
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุกและยอดอ่อน รับประทานได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล รับประทานสดหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก, ยอดอ่อน แกงหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและผลอ่อน รับประทานกับลาบ(เมี่ยน)
ผลสุก รับประทานได้, ผลดิบ รับประทานกับน้ำพริกหรือลาบปลา(ขมุ)
ผลดิบและยอดอ่อน นำไปแกง หรือลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง